วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เปิดแผนกระตุ้นศก.ญี่ปุ่น-จีน ตั้งรับเศรษฐกิจโลกถดถอย-วิกฤต

ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ ทั้งจากหนี้ประเทศที่โป่งพองไม่หยุด และวิกฤตสินเชื่อ จากแรงปะทุของวิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทด้อยคุณภาพ (ซับไพรม) ซึ่งได้แผ่ขยายผลกระทบไปทั่วโลกอย่างช้าๆ แต่รุนแรง กำลังกระตุ้นให้หลายประเทศ ตื่นตัวตั้งรับกับผลกระทบดังกล่าวในรูปของการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (economic stimulus package) แม้แต่จีน ว่าที่มหาอำนาจแห่งซีกโลกตะวันออกในอนาคตอันใกล้ ซึ่งได้แสดงแสนยานุภาพในทุกด้าน ผ่านการเป็น เจ้าภาพแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2551 อย่างสมภาคภูมิ กลับไม่อาจทนนิ่งเฉย ต่อแรงปะทะของวิกฤตโลกอีกต่อไป อีโคโนมิก ออบเซิร์ฟเวอร์ ของรัฐบาลจีน รายงานอ้างแหล่งข่าววงใน เมื่อ วันจันทร์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลปักกิ่งกำลังพิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่อาจมีวงเงินสูงถึง 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 3.70 แสนล้านหยวน โดยแผนดังกล่าวจะครอบคลุมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการลดภาษี คิดเป็นวงเงิน 1.50 แสนล้านหยวน และการใช้จ่ายของภาครัฐ 2.20 แสนล้านหยวนรายงานระบุว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขัน จาก Central Financial Leading Group หรือคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญๆ โดยเป้าหมายในการนำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดนี้ออกมาใช้ ก็เพื่อเติมแรงกระตุ้นให้กับเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนได้ดีขึ้นหลังจากดึงบังเหียนให้เศรษฐกิจชะลอลง จากความร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ด้วยมาตรการทางการเงินต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นเป็นที่น่าสังเกตว่า รายงานของ อีโคโนมิก ออบเซิร์ฟเวอร์ มีขึ้นหลังจากแฟรงก์ กง นักเศรษฐศาสตร์จากเจ.พี. มอร์แกน เชส ได้ระบุในบทวิเคราะห์ ฉบับสัปดาห์ที่แล้วว่า ปักกิ่งกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่อาจมีวงเงินสูงถึง 4 แสนล้านหยวน เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ได้ชะลอลงมาอยู่ที่ 10.4% จาก 11.9% ของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปัจจุบัน เริ่มมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นว่า การเติบโตที่ชะลอลงของการส่งออก อันเนื่องมาจาก ผลกระทบของภาวะชะลอตัวทั่วโลก จะ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนในที่สุดนอกเหนือจากจีนแล้ว ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีรายงานข่าวออกมาว่า กำลังพิจารณาจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่อยู่หนังสือพิมพ์ ยูมิอุริ ของญี่ปุ่น รายงานเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า นายคาโอรุ โยซาโน รัฐมนตรีฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ได้ส่งมอบร่างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่นายกรัฐมนตรียาสุโอะ ฟูกูดะ และนายบุนเมอิ อิบูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา (22 ส.ค.) โดยคาดว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่น จะมีวงเงินสูงประมาณ 7.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 8 ล้านล้านเยนรายงานระบุว่า นายกรัฐมนตรีฟูกูดะ ได้สั่งการให้นายโยซาโน จัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก ตลอดจนเกษตรกร และชาวประมง ที่ได้รับผลกระทบจาก ราคาน้ำมันแพงยิ่งกว่านั้น มาตรการชุดดังกล่าว ยังครอบคลุมไปถึงการลดอัตราค่าโดยสารทางด่วน การให้ความช่วยเหลือคนรุ่นใหม่ที่กำลังหางานทำ และการขยายสวัสดิการบริการสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มคนสูงอายุ แต่กระนั้น แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ของนายฟูกูดะกลับมีขนาดเล็กกว่า เมื่อเทียบแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ วงเงิน 14.8 ล้านล้านเยน ที่ประกาศในสมัย ของอดีตนายกรัฐมนตรีจูนิชิโร โคอิซูมิ ในเดือนธันวาคม 2545ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเป็น ประเทศแรกๆ ที่นำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาปรับใช้ เพื่อรับมือกับผลกระทบของวิกฤตสินเชื่อ ภาวะซบเซาของตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศ และวิกฤตราคาน้ำมันแพง โดยวงเงินที่สหรัฐใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมการคืนภาษีส่วนหนึ่งให้แก่ประชาชน มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 1.52 แสนล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 แม้ว่าจะต่ำกว่าประมาณการของนักเศรษฐศาสตร์ก็ตามปัจจุบัน เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายให้รัฐบาลจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง แต่ทำเนียบข่าวได้แถลงการณ์ปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยระบุว่าไม่มีการพิจารณาเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองในขณะนี้อย่างไรก็ดี คริส แวน ฮอลเลน ประธานกรรมการฝ่ายการรณรงค์ประจำรัฐสภาสหรัฐ ของพรรคเดโมแครต คาดว่า นางแนนซี เปโลซี ประธานสภา ผู้แทนราษฎรสหรัฐ จะเสนอร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองในเดือนกันยายนการเคลื่อนไหวเพื่อจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังเกิดขึ้นในหลายประเทศ อาทิ ในเกาหลีใต้ รัฐบาลโซลได้ประกาศมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการลดเว้นภาษี แก่บริษัทก่อสร้าง แต่เฉพาะในส่วนที่ดิน ที่มีการจัดซื้อเพื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเท่านั้น อีกทั้งยังให้รัฐวิสาหกิจด้านการเคหะ เข้าไปซื้ออพาร์ตเมนต์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทั้งที่ขายไม่ออก และขายได้ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อลดปริมาณที่อยู่อาศัยในระบบ

ที่มา:http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.

ไม่มีความคิดเห็น: